บทความ

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลไชยปราการ จ.เชียงใหม่

รูปภาพ
ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลไชยปราการ จ.เชียงใหม่ อำเภอไชยปราการเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ใน จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 128 กิโลเมตร ภูมิประเทศมีลักษณะภูเขาสลับกับที่ราบภูเขา เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ทำให้ชุมชนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม คนในชุมชนใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  มีสถานที่สำคัญหลายแห่งอย่างเช่น วัดพระเจ้าพรหมมหาราช (วัดป่าไม้แดง) วัดประจำอำเภอไชยปราการ อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา วัดถ้ำผาผึ้ง สระน้ำมรกต คุณอนวัช สัตตบุศย์ นายอำเภอไชยปราการ ได้กล่าวว่า "อำเภอไชยปราการ มีสินค้าที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์นมสด อินทผลัม ลิ้นจี่ ลำใย"  เนื่องจากอำเภอไชยประการ มีสินค้าชุมชนหลากหลายชนิด นายอำเภอไชยปราการและคุณสุชาติ บัวคำ นายกเทศมนตรีตำบลไชยปราการ ได้ปรึกษากันว่าทำอย่างไรจึงจะจำหน่ายสินค้าในชุมชนสู่ตลาดภายนอกให้ได้ผลดีที่สุด  จึงเป็นที่มีของการจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลไชยปราการขึ้นภายในเทศบาลตำบลไชยปราการ เนื่องจากเทศบาลตำบลไชยปราการเป็นศูนย์กลางของชุมชน สะดวกต่อการเดินทางมาใช้บริการของประชาชนใน

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเทศบาลตำบลแม่จะเรา

รูปภาพ
เทคโนโลยีเพื่อสาธารณสุข ที่ จ.ตาก บ้านแม่จะเราเดิมเป็นเพียงที่พักระหว่างทางในเส้นทางการค้าระหว่างคนพม่ากับชาวไทยล้านนา และจากที่เคยขนเสบียงมา ก็เริ่มที่จะปลูกเพื่อพอประทังเป็นอาหาร จึงพบว่าพื้นที่ริมแม่น้ำนี้อุดมสมบูรณ์ยิ่งนั่ง ปลูกอะไรก็งาม จนเป็นที่เลื่องลือ บอกต่อๆ กันไป เป็นภาษาท้องถิ่นว่า "ผืนดินและสายน้ำแห่งนี้ บ่าว่าเอาอะหยังมาปลูก มันกะขึ้นกะดี กะเลา ปลูกหยังกะจะดี ไปเหียหมด" ซึ่งคำว่าเลา หมายถึง ดี งาม สวย เมื่อผู้คนจากทางเหนือทราบข่าว ก็เลยพากันอพยพถิ่นฐานมาจับจองพื้นที่ทำการเพาะปลูกและค้าขายชายแดน ภายหลังมีการเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า"แม่จะเลา" ซึ่งหมายถึงสายน้ำอันเพาะปลูกพืชพันธ์ชั้นดีเยี่ยม ต่อมาเมื่อได้มีการขึ้นทะเบียนเพื่อตั้งชื่อหมู่บ้าน ได้มีการเปลี่ยนอักษรในการใช้ จาก "ล" กลายมาเป็น "ร" อาจเนื่องด้วยจากความผิดพลาดในการจดหรือการออกเสียง จึงกลายมาเป็นคำว่า "แม่จะเรา" มาจนถึงปัจจุบัน ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเทศบาลตำบลแม่จะเรา  จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 ตั้งอยู่ที่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เทศบาลตำบลแม่จะเรา อำเภอ

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเทศบาลตำบลกำแพง

รูปภาพ
ดิจิทัลไร้กำแพง ที่ตำบลกำแพง ตำบลกำแพงอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอละงูจังหวัดสตูล มีลักษณะเป็นที่สูง ประกอบด้วยภูเขา มีป่าไม้นานาชนิดบนภูเขา เช่น ไม้พยอม ไม้หลุมทอ และไม้ เบญจพรรณต่าง ๆ พื้นที่จะค่อย ๆ เอียงลาดมาทางทิศใต้และทิศตะวันออก ทางทิศใต้มีแม่น้ำละงูเป็นเส้นแบ่งระหว่างตำบลกำแพงและตำบลละงู ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รองลงมาคือ การเกษตร การประมง การปศุสัตว์ ทำนา ทำสวน และรับจ้างทั่วไป ประชาชรมีทั้งนับถือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดี ผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชนมีทั้งอาหาร เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ขนมบุหงาบูต๊ะ ขนมโกยยา (ถั่วอีด) ชาชักสตูล ไข่มุกแท้อันดามัน เครื่องทองเหลือง เครื่องเงิน เครื่องลายคราม อาวุธโบราณ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเทศบาลตำบลกำแพง จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2551 ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอำเภอละงู ซึ่งอยู่ภายในเทศบาลตำบลกำแพง มีนายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธ์   นายกเทศมนตรีตำบลกำแพงในขณะนั้นเป็นประธานคณะกรรมการผู้บริหารศูนย์ฯ ผู้บริหารมัสยิดอำเภอละงู และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอละงู เป

ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนวัดป่าจันทวนาราม

รูปภาพ
เมื่อวัฒนธรรมกับเทคโนโลยีไปด้วยกันอย่างกลมกลืน บ้านห้องแซง เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นถิ่นที่มีชาวภูไทได้อาศัยอยู่อย่างคับคั่ง มีขนบธรรมเนียมและภาษาพูดแตกต่างไปจากภาษาอื่นๆ ในสมัยหนึ่งเคยเป็นชนชาติกลุ่มใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้ได้แตกแยกกันไปทำมาหากิน ถิ่นภูไทอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวภูไทที่อยู่ในประเทศไทย ส่วนมากอยู่ในจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม เป็นพวกที่อพยพมาจากประเทศลาว ตั้งแต่ครั้งดินแดนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยยังเป็นอาณาเขตของประเทศลาว ผู้คนที่นี่ยังอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต อาหารการกิน โดยเฉพาะการแต่งกาย จะแต่งกายด้วยชุดภูไททุกวันศุกร์ และหากมาทำบุญที่วัด จะต้องแต่งกายชุดภูไทมาทำบุญุทุกครั้ง ทำให้ชาวห้องแซงแต่งกายด้วยชุดภูไทพื้นเมืองจนเป็นวิถีชีวิตประจำวัน วัดป่าจันทวนาราม ตั้งอยู่ที่ 11 หมู่ 11 บ้านห้องแซง ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ที่ตั้งวัดเดิมเป็นป่า หลังจากนั้นก็พัฒนาเป็นสำนักสงฆ์ ต่อมาก็มีชุมชนเข้ามาอยู่รอบๆ วัดจึงเป็นศูนย์กลางขอ

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนสถาบันพัฒนาเยาวสตรี

รูปภาพ
ศูนย์ดิจิทัลชุมชนสถาบันพัฒนาเยาวสตรี อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ พลังขับเคลื่อนชุมชนเติบโตอย่างยั่งยืน ศูนย์ดิจิทัลชุมชนสถาบันพัฒนาเยาวสตรี ตั้งอยู่ที่มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงไอซีที สำนักงานกรมการศึกษานอกโรงเรียน และบริษัท ดีแทค จำกัด (มหาชน) ซึ่งพัฒนาจากศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี 2552 โดยเป็นศูนย์ขนาดกลาง ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นและได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล มีผลงานเด่นในเรื่องการส่งเสริมสินค้าชุมชน สินค้าเกษตร โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ และอาหารแปรรูป เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีให้กับเด็กนักเรียนที่ยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียนหนังสือและพัฒนาตนเอง คุณสมชาย เหล็กเพชร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเยาวสตรี และเป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนสถาบันพัฒนาเยาวสตรี เล่าความเป็นมาของการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเยาวสตรีว่า “หลวงพ่อวัดป่าดาราภิรมย์ มองเห็นว่าเยาวชนที่อยู่ตามชนบทขาดโอกาสทางการศึกษา ผู้ปกครองยากจน เลยมีความคิดที่อยากจ

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว

รูปภาพ
ศึกษาความรู้ พัฒนาสินค้า ขยายฐานลูกค้า เพื่อเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน อำเภอน้ำโสมเป็นอำเภอหนึ่งของ จ.อุดรธานี ที่มีวัฒนธรรมชุมชน ประเพณีและสินค้าพื้นบ้านหลายๆ อย่างที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นผ้าย้อมคราม กระจกกัดลาย ผลไม้ต่างๆ สินค้าสมุนไพร และ ภายในวัดโคเขตตาราม วัดประจำตำบลนางัว อำเภอน้ำโสม มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัวตั้งอยู่ภายในทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองคอยเสริมสร้างความรู้ และส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น พระครูอุดรสุนทรเขต เจ้าอาวาสวัดโคเขตตาราม ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัวว่า "แรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะจัดตั้งศูนย์ฯ ทางวัดโคเขตตารามได้มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำหน้าที่คอยสอนความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐานให้แก่ผู้สนใจอยู่แล้ว ประกอบกับมีประชาชนในพื้นที่มาปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับด้านการขายสินค้าของชุมชน ด้วยความต้องการที่จะแก้ปัญหาให้กับประชาชนและสร้างความเจริญด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทางเจ้าอาวาสจึงได้ขอจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนในปี 2557 อยู่ภายในวัดโคเขตตาราม"  โดยพระครูอุดรสุนทรเขต ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว ได้จัดงาน “งานบวรร่วมใ