ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว



ศึกษาความรู้ พัฒนาสินค้า ขยายฐานลูกค้า เพื่อเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน



อำเภอน้ำโสมเป็นอำเภอหนึ่งของ จ.อุดรธานี ที่มีวัฒนธรรมชุมชน ประเพณีและสินค้าพื้นบ้านหลายๆ อย่างที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นผ้าย้อมคราม กระจกกัดลาย ผลไม้ต่างๆ สินค้าสมุนไพร และ ภายในวัดโคเขตตาราม วัดประจำตำบลนางัว อำเภอน้ำโสม มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัวตั้งอยู่ภายในทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองคอยเสริมสร้างความรู้ และส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

พระครูอุดรสุนทรเขต เจ้าอาวาสวัดโคเขตตาราม ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัวว่า "แรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะจัดตั้งศูนย์ฯ ทางวัดโคเขตตารามได้มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำหน้าที่คอยสอนความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐานให้แก่ผู้สนใจอยู่แล้ว ประกอบกับมีประชาชนในพื้นที่มาปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับด้านการขายสินค้าของชุมชน ด้วยความต้องการที่จะแก้ปัญหาให้กับประชาชนและสร้างความเจริญด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทางเจ้าอาวาสจึงได้ขอจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนในปี 2557 อยู่ภายในวัดโคเขตตาราม"  โดยพระครูอุดรสุนทรเขต ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว ได้จัดงาน “งานบวรร่วมใจไอซีทีร่วมสร้างตามแนวทางประชารัฐ” เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าในชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ร่วมกับคุณชยาวิชญ์ ธาตุชัย ครู กศน.น้ำโสม ช่วยประสานระหว่างรัฐโดยผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน กับประชาชนในพื้นที่

ในด้านการเรียนการสอน ทางศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัวมีหลักสูตรการสอนหลายหลักสูตร ที่แตกต่างกันไป เพื่อที่จะนำมาสอนกับคนในชุมชนได้อย่างเหมาะสม โดยเริ่มตั้งแต่การสอนความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล การเสริมสร้างอาชีพ ตลอดจนการสร้างร้านค้าออนไลน์  และเมื่อส่งเสริมให้ความรู้จนทำให้ชาวบ้านสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ ได้แล้ว ก็จะมีการเชิญผู้ผลิตมาเข้ารับการอบรมที่ศูนย์ดิจิทัลชุมชนอีกครั้ง เพื่อให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และสอนวิธี การใช้สื่อออนไลน์เข้ามาช่วยขายสินค้าด้วย โดยมีสินค้าน่าสนใจหลายๆ ชนิด อย่างเช่น ถั่วดาวอินคา เงาะโรงเรียน กระจกกัดลาย



กระจกกัดลาย เป็นผลงานจากฝีมือของสามเณรของวัดโคเขตตาราม โดยพระวัชรา อคุคจิตฺโต ผู้ดูแลศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว มีการจัดทำการตลาดออนไลน์ โดยใช้เฟซบุ๊กเพจของ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว และเว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดัง อย่างเว็บไซต์  lnwshop และ เว็บไซต์ kaidee ในการขายสินค้า นอกจากนั้นยังมีการมีการสอนวิธีกำกระจกกัดลายให้กับชาวบ้านในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนอีกด้วย


ในด้านกลุ่มอาชีพ ทางศูนย์ฯ ได้เข้าไปช่วยโปรโมทสินค้า และสร้างตลาดออนไลน์ให้แก่กลุ่มอาชีพในชุมชม อย่างเช่น คุณฎำริ หงษาพันธ์ นายกเทศมนตรีตำบาลน้ำโสม เจ้าของสวนเงาะโรงเรียน จากที่ดินเดิมที่เคยปลูกข้าวโพด ก็ได้มีหาศึกษาหาความรู้ ทดลองปลูกเงาะ ก็พบว่าสามารถได้ผลผลิตที่ดี สามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น ต่อมาก็ได้ทางศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว เข้ามาช่วยสนับสนุนในด้านช่องทางการขาย และโปรโมทสินค้าผ่านทางสื่อดิจิทัล ทำให้มีลูกค้าที่สนใจเพิ่มมากขึ้น และมียอดสั่งซื้อออนไลน์เข้ามาเป็นจำนวนมาก
 

ถั่วดาวอินคา เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัวได้เข้าไปช่วยโปรโมทสินค้าและทำการตลาดออนไลน์ให้   ถั่วดาวอินคา เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังมีการส่งเสริมให้คนในชุมชนอำเภอน้ำโสมนำมาปลูกในพื้นที่ โดยคุณภาณุพงค์ ภัทรคนงาม ผู้ผลิตถั่วดาวอินคา อ.น้ำโสม กลุ่มเคียงเดือนดอยอินคา ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของสินค้าด้านสุขภาพก็เลยได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้และได้นำถั่วดาวอินคามาทดลองปลูก ในพื้นที่และได้แนะนำให้เพื่อนๆมาร่วมปลูกถั่วดาวอินคา โดยได้นำน้ำมันที่สกัดจากถั่วดาวอินคานำมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งน้ำมันที่สกัดได้จากถั่วดาวอินคาจะมีวิตามิน A และวิตามิน E รวมไปทั้ง มีสาร “โอเมก้า 3 6 9” เป็นจำนวนมาก อีกทั้งใบของต้นถั่วดาวอินคา และเปลือกของลูกถั่วดาวอินคาสามารถนำมาทำเป็นชาได้ หลังจากการโปรโมทผ่านศูนย์ฯ ทำให้มีผู้สนใจสินค้า และสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น

ในด้านการท่องเที่ยว ทางศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว ได้เข้าไปช่วยโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้กับคนภายนอกได้รู้จัก อย่างเช่น วัดรัตนคูหา หรือ ถ้ำผาแซง  นอกจากจะเป็นวัดเก่าแก่ และสถานที่ปฏิบัติธรรมประจำอำเภอ ในบริเวณวัดยังมี พระธาตุที่บรรจุพระสารีริกธาตุซุกซ่อนอยู่ภายในถ้ำ ท่ามกลางธรรมชาติอันสวยงาม ทางศูนย์ฯ กำลังเตรียมแผนโปรโมท ถ้ำผาแซงให้คนภายนอกได้รู้จัก และเข้ามาสักการะพระสารีริกธาตุ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของชุมชน


จะเห็นได้ว่าทางศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้คนในชุมชม โดยใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญ   โดยมุ่งเน้นที่จะให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจทัลให้กับคนในชุมชน  เพิ่มความสามารถการกระจายสินค้าของตน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบของออนไลน์เพื่อช่วยให้หาตลาดขายสินค้า  โดยมีศูนย์ดิจิทัลร่วมเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า ทำให้คนในชุมชมเพิ่งพาตัวเองได้ และสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง เพื่อหวังให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของตัวเองและชุมชนต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศูนย์ดิจิทัลชุมชน มัสยิดตาราม

ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนอำเภอแม่ลาน้อย

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเฉลิมพระเกียรติวัดโพธิการาม