ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเทศบาลตำบลบ่อกรุ

สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล



     ตำบลบ่อกรุ เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 14 ตำบลของอำเภอเดิมบางนางบวช ราษฎรในตำบลได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เป็นเวลายาวนานนับ 100 กว่าปี แต่ดั้งเดิมเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากจังหวัดนครปฐม นำโดยนายกอง บูฮา มีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง สำเนียงภาษาที่พูดจะออกเป็นสำเนียงลาว เรียกว่าภาษาลาวคั่ง ราษฎรเมื่อรวมเป็นชุมชนมากขึ้นก็ต้องมีการจัดหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค โดยการขุดบ่อน้ำตื้นแล้วนำมากั้นภายในบ่อเพื่อกันน้ำพังดินถล่มหรือทรุดตัว เรียกว่า "การกรุบ่อ" ในเวลาต่อมาเมื่อจัดตั้งหมู่บ้านจึงเรียกว่า "บ้านบ่อกรุ" จนมาถึงปัจุบัน อาชีพหลักของชาวบ้านคือทำนา ทำไร่ และมีอาชีพรองคือค้าขายและรับจ้าง มีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นประจำตำบลบ่อกรุ คือผ้าทอพื้นบ้านหรือผ้าขาวม้า5สี โดยกลุ่มทอผ้าของชาวบ้านทุ่งกฐิน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการสืบทอดภูมิปัญญากันจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นเวลานาน


     ทั้งนี้ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนเพื่อพ่อหลวงเทศบาลตำบลบ่อกรุ โดยมีส.ต.ประกาศิต แปลนพิมาย เป็นหัวหน้าฝ่ายอำนวยการและผู้ดูแลศูนย์ ได้มีการส่งเสริมกลุ่มทอผ้า ต.บ่อกรุ ด้วยการนำผ้าทอ ผ้าขาวม้า5สี” ในการจำหน่ายผ่านทางเว็ปไซต์ http://bokru-sm.thailandmall.net/home.php  เพื่อช่วยสร้างโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น


     ปัจจุบันผ้าขาวม้า5สี ได้มีการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เช่นนำมาทำเป็นเสื้อ เนคไท หมวก หมอน เป็นต้น ทางชุมชนมีการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้ฝึกฝนการทำผ้าขาวม้า5สี เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ดั้งเดิมให้คงอยู่ เช่นที่โรงเรียนวัดบ่อกรุ คุรุประชาสรรค์ เด็กนักเรียนที่นี่ได้เรียนรู้การทอผ้าขาวม้า5สี และนำผ้ามาแปรรูปเป็นกระเป๋าใส่ดินสอ กิ๊ฟติดผม เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีรายได้เสริมระหว่างเรียน และยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทอผ้าขาวม้า5สี ให้สืบทอดต่อไปอีกด้วย

    นอกจากจากผ้าข้าวม้า5สีแล้ว จังหวัดสุพรรณบุรียังมีของดีประจำอำเภอศรีประจันต์ อีกอย่างคือแห้ว ที่มีการปลูกกันเป็นจำนวนมากเป็นลำดับต้นๆ ในประเทศไทย และว่ากันว่าแห้วอำเภอศรีประจันต์ยังอร่อยที่สุดอีกด้วย เป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี มีการแปรรูปแห้วเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นแห้วกระป๋อง ข้าวเกรียบแห้ว น้ำพริกแห้ว เป็นต้น ซึ่งจากความต้องการ การซื้อแห้วอย่างต่อเนื่องเทศบาลตำบลวังยางจึงได้รณรงค์และส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้การจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์ ที่ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนอีกด้วย โดย ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวงเทศบาลตำบลวังยาง ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ทำนาแห้ว สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการค้าขายของตนเองทางออนไลน์ได้


    คุณรัตนาภรณ์ แป้นชู เจ้าหน้าที่ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนเพื่อพ่อหลวงเทศบาลตำบลวังยาง เล่าว่า “ทางศูนย์มีการอบรมให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น รวมถึงการใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต ด้วยการใช้โปรแกรมไลน์ เฟซบุ๊ก ช่วยในการขายสินค้า ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากชุมชน”

    สมปอง เวชวิการ ผู้เข้ารับการอบรม เล่าว่า “ต้องการมาเรียนรู้เรื่องการตั้งเพจขายของ ปกติทำงานแฮนด์เมด ทำไม้กวาดดอกหญ้า ถักกล่องทิชชู่เป็นรูปห่าน และทำยาหม่องสมุนไพร ตอนแรกขายอยู่ในตลาดที่มีคนรู้จักแค่ตรงที่เราอยู่ เลยอยากเผยแพร่ให้คนรู้จักมากขึ้น โครงการนี้มีประโยชน์ทำให้เราสร้างเพจขึ้นมาเพื่อให้คนเข้ามาดูงานของเรา ถ้าคนสนใจเราก็จะมีลูกค้าเพิ่ม”


    นับเป็นอีกตัวอย่างของศูนย์ไอซีทีชุมชนที่ทำให้คนในชุมชนสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยพัฒนาขีดความสามารถของผู้เข้ารับการอบรม ให้รู้จักใช้เทคโนโลยีได้เป็นประโยชน์ ก้าวทันกลับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน และเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนาทักษะด้านไอซีทีของชุมชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น






ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวงเทศบาลตำบลบ่อกรุ

ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช

เปิดให้ประชาชนใช้คอมพิวเตอร์ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00 – 18.00 น. /วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30 – 16.00น.
เบอร์ติดต่อ 081-005-4569 เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.bokru-sm.go.th/


ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวงเทศบาลตำบลวังยาง เบอร์ติดต่อ 0897412148

http://www.thaitechno.net/dip/profile.php?uid=44693

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศูนย์ดิจิทัลชุมชน มัสยิดตาราม

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเฉลิมพระเกียรติวัดโพธิการาม

ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนอำเภอแม่ลาน้อย